รายงานการประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้าน
บ้านหัวนา หมู่ 2 ตำบลหนองแก้ว
อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติหมู่บ้าน
จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบทอดกันมา บ้านกอกสืบเชื้อสายมาจากหนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์ในช่วงเจ้าพระวอ พระตา
ผู้ครองเมืองหนองบัวลำภู
ได้ถูกพระเจ้าสิริบุญสาร
เจ้าเมืองเวียงจันทร์ จึงถอยร่นมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลและตั้งชื่อบ้านว่า บ้านซ้งวังขามเฒ่าและได้สร้างวัดชื่อว่า วัดดังขามเฒ่า
ต่อมาได้เกิดภัยพิบัติขึ้นมีการอพยพแยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานรอบๆ เช่น
บ้านหนองแก้ว บ้านหัวนา จนถึงปัจจุบัน
ภูมิสังคมของชุมชน
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบ มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และมีแม่น้ำมูลน้ำไหลผ่า
สถานที่ตั้ง/อาณาเขต ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอกันทรารมย์
22 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบ้านกอก ม.3
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำมูล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหนองแก้ว ม.1
จำนวนประชากร/ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 68 ครัวเรือน
จำนวนประชากรทั้งหมด 263 คน
ชาย 140 คน
หญิง 123 คน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์
1.
นายสาย พงษา บ้านเลขที่ 22 เรื่อง การจักสาน
2.
นายคำหล้า เครือบุตร บ้านเลขที่ 40 เรื่อง พระพุทธศาสนา
3.
นายทองมาก บุญบำเรอ บ้านเลขที่ 40 เรื่อง
ประดิษฐ์เครื่องบุญ
สภาพทางสังคม ภาษา
วัฒนธรรม ประเพณี
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 100%
ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอิสานในการติดต่อสื่อสาร
ประเพณีที่สำคัญของหมู่บ้าน คือ สงกรานต์ เข้าพรรษา
ออกพรรษา บุยผเวส บุญกฐิน
ทอดผ้าป่า การแข่งเรือ
อัตลักษณ์ของชุมชน
- ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม คือ
ปลูกข้าว
มีการเลี้ยงปลาในกระชัง
และหาปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาชีพเสริม
- ป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม
การแก้ไขปัญหาของชุมชน
- การจัดเวทีประชาคมเพื่อจัดทำแผนชุมชน เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาหมู่บ้าน
- การจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้ชุมชนมีรายได้
- เน้นเศรษฐกิจพอเพียง
- เพิ่มศักยภาพผู้นำกลุ่ม/องค์กร
- การมีส่วนร่วมของชุมชน
การพัฒนาศักยภาพชุมชน (การพัฒนาต่อยอด)
- สนับสนุนกลุ่มอาชีพสตรีให้มีความเข้มแข็ง โดยการสนับสนุนทุนหมุนเวียนและการบริการจัดการกลุ่ม
- สนับสนุนการใช้มูลสัตว์/ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
- ต่อยอดกลุ่มเลี้ยงปลา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น