วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560

โครงการธรรมะสัญจร
จุดที่ 3 ปี่ที่6 วันที่ 21 มิย.60 ณ.วัดโพธิ์ลังกา ต.ยาง อ.กันทรารมย์.จ.ศรีสะเกษโดยคณะสงฆ์อำเภอกันทรารมย์ พระครูโสภิตสารธรรม เจ้าคณะอำเภอฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และทุกภาคส่วนฝ่ายปกครองฝ่ายบริหารอนุโมทนาบุญ กับทุกท่านที่มีส่วนร่วม..ในโครงการนี้..





วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 สภาวัฒนาธรรมจังหวัดศรีสะเกษร่วมกับชุมชนบ้านหัวนา วัดจำปา และประชาชนทั่วไปได้ จัดวันอัฏมีบูชา ดดยมีพระคุณพระราชกิตติรังษี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ประธานฝ่ายสงฆ์ และนายสุพจน์ ดาวหน ปลัดอำเภอกันทรารมย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายอำเภอกันทรารมย์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมกล่าวธรรมิกถา,นำเจริญจิตภาวนา,กล่าวคำบูชาดอกไม้ธูปเทียน,พร้อมเวียนดอกไม้ธูปเทียนเครื่ิองสักการะรอบมกุฏพันธเจดีย์จำลอง(พระธาตุกตัญญู) ๓ รอบ และร่วมปลูกต้นพะยูงคืนถิ่น กว่า ๕๐๐ ต้น ตามลำดับ มีพระสงฆ์ร่วมในกิจกรรม และผู้มีเกียรติ ส่วนราชการ พุทธศาสนิกชน พ่อค้า ประชาชน พร้อมด้วยคณะครู-นักเรียน รวมในพิธีทั้งสิ้นกว่า ๘๐๐ รูป/คน







วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าปลานิลเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบแอฟริกา และเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 โดยพระจักรพรรดิอากิฮิโต พระอิสริยยศมกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นทรงจัดส่งปลานิล มาทูลเกล้า ฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ระยะแรกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าหน้าที่ปล่อยเลี้ยง โดยเริ่มแรกเป็นการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ มอบหมายให้กรมประมงศึกษาวิธีเลี้ยงปลานิล จนเพาะเลี้ยงจนขยายพันธุ์ได้มากเพียงพอ จึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเลี้ยงมาจนถึงทุกวันนี้




รายงานการประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้าน
บ้านหัวนา  หมู่  2  ตำบลหนองแก้ว  อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ
ภูมิหลัง/ตำนานความเป็นมาของชุมชน
            ประวัติหมู่บ้าน
จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบทอดกันมา  บ้านกอกสืบเชื้อสายมาจากหนองบัวลำภู  นครเขื่อนขันธ์ในช่วงเจ้าพระวอ  พระตา  ผู้ครองเมืองหนองบัวลำภู  ได้ถูกพระเจ้าสิริบุญสาร  เจ้าเมืองเวียงจันทร์ จึงถอยร่นมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลและตั้งชื่อบ้านว่า  บ้านซ้งวังขามเฒ่าและได้สร้างวัดชื่อว่า  วัดดังขามเฒ่า  ต่อมาได้เกิดภัยพิบัติขึ้นมีการอพยพแยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานรอบๆ  เช่น  บ้านหนองแก้ว  บ้านหัวนา  จนถึงปัจจุบัน
ภูมิสังคมของชุมชน
            ลักษณะภูมิประเทศ
                        เป็นที่ราบ  มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และมีแม่น้ำมูลน้ำไหลผ่า                  
สถานที่ตั้ง/อาณาเขต       ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอกันทรารมย์  22  กิโลเมตร
            ทิศเหนือ            ติดต่อกับเขตอำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้                ติดต่อกับเขตบ้านกอก  ม.3
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับแม่น้ำมูล
ทิศตะวันตก        ติดต่อกับบ้านหนองแก้ว  ม.1
จำนวนประชากร/ครัวเรือน
            จำนวนครัวเรือนทั้งหมด               68         ครัวเรือน
            จำนวนประชากรทั้งหมด              263       คน
                        ชาย                               140       คน
                        หญิง                             123       คน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์
            1.  นายสาย  พงษา                       บ้านเลขที่  22                  เรื่อง      การจักสาน
            2.  นายคำหล้า  เครือบุตร               บ้านเลขที่  40                  เรื่อง      พระพุทธศาสนา
            3.  นายทองมาก  บุญบำเรอ            บ้านเลขที่  40                  เรื่อง      ประดิษฐ์เครื่องบุญ
สภาพทางสังคม  ภาษา  วัฒนธรรม  ประเพณี
            ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  100%
            ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอิสานในการติดต่อสื่อสาร

            ประเพณีที่สำคัญของหมู่บ้าน  คือ  สงกรานต์  เข้าพรรษา  ออกพรรษา  บุยผเวส  บุญกฐิน  ทอดผ้าป่า  การแข่งเรือ
อัตลักษณ์ของชุมชน
                        - ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม  คือ  ปลูกข้าว  มีการเลี้ยงปลาในกระชัง  และหาปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาชีพเสริม
                        - ป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม
            การแก้ไขปัญหาของชุมชน
                        -  การจัดเวทีประชาคมเพื่อจัดทำแผนชุมชน  เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาหมู่บ้าน
                        -  การจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้ชุมชนมีรายได้
                        -  เน้นเศรษฐกิจพอเพียง
                        -  เพิ่มศักยภาพผู้นำกลุ่ม/องค์กร
                        -  การมีส่วนร่วมของชุมชน
            การพัฒนาศักยภาพชุมชน  (การพัฒนาต่อยอด)
                        -  สนับสนุนกลุ่มอาชีพสตรีให้มีความเข้มแข็ง  โดยการสนับสนุนทุนหมุนเวียนและการบริการจัดการกลุ่ม
                        -  สนับสนุนการใช้มูลสัตว์/ปุ๋ยชีวภาพ  เพื่อลดต้นทุนการผลิต
                        -  ต่อยอดกลุ่มเลี้ยงปลา
                        -  พัฒนาศักยภาพผู้นำ/กลุ่ม/องค์กร

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2559 เวลา 19.00 น. อำเภอกันทรารมย์ โดย นายอรรถพล อรรคบุตร รักษาการนายอำเภอกันทรารมย์ ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ณ วัดกันทรารมณ์ ตำบลดูน โดย มีหัวหน้าส่วนราชการ ปลัดอำเภอ พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนเข้าร่วมพิธีและถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ



วันที่ 20 ตุลาคม 2559 เวลา 10.30 น. อำเภอกันทรารมย์ โดย นายอรรถพล อรรคบุตร รักษาการนายอำเภอกันทรารมย์ ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลสัตตมวาร (7 วัน) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนเข้าร่วมพิธี ณ วัดบ้านจาน ตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ


คณะกรรมการประชาคม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Followers

ประชาสัมพันธ์พัฒนาชุมชน

กิจกรรมในชุมชน